เมนู

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [1.มหาขันธกะ] 25. อัญญติตถิยปุพพกถา
สุกกปักษ์ 7
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ 6 พึงให้อุปสมบท พึงให้นิสสัย
พึงใช้สามเณรอุปัฏฐาก คือ
1. รู้จักอาบัติ
2. รู้จักอนาบัติ
3. รู้จักอาบัติเบา
4. รู้จักอาบัติหนัก
5. จำปาติโมกข์ทั้งสองโดยพิสดารได้ดี จำแนกได้ดี คล่องแคล่วดี
วินิจฉัยโดยสุตตะโดยอนุพยัญชนะได้ดี
6. มีพรรษาครบ 10 หรือมีพรรษาเกิน 10
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ 6 เหล่านี้แล พึงให้อุปสมบท
พึงให้นิสสัย พึงใช้สามเณรอุปัฏฐาก (14)
อุปสัมปาเทตัพพฉักกะ 14 หมวด จบ

25. อัญญติตถิยปุพพกถา
ว่าด้วยภิกษุผู้เคยเป็นอัญเดียรถีย์

ติตถิยปริวาส
[86] สมัยนั้น ภิกษุผู้เคยเป็นอัญเดียรถีย์ถูกพระอุปัชฌาย์ว่ากล่าวโดยชอบธรรม
ได้โต้เถียงพระอุปัชฌาย์ ไปเข้ารีตเดียรถีย์ดังเดิมแล้วกลับมาขออุปสมบทกับภิกษุอีก
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่เคยเป็นอัญเดียรถีย์ถูกพระ
อุปัชฌาย์ว่ากล่าวโดยชอบธรรม ได้โต้เถียงพระอุปัชฌาย์ ไปเข้ารีตเดียรถีย์ดังเดิม
มาแล้ว สงฆ์ไม่พึงให้อุปสมบท ภิกษุทั้งหลาย แม้ผู้อื่นที่เคยเป็นอัญเดียรถีย์ หวัง
บรรพชาอุปสมบทในพระธรรมวินัยนี้ พึงให้ผู้นั้นอยู่ปริวาส 4 เดือน”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 4 หน้า :137 }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [1.มหาขันธกะ] 25. อัญญติตถิยปุพพกถา
วิธีให้ติตถิยปริวาส
ภิกษุทั้งหลาย ก็แลสงฆ์พึงให้ติตถิยปริวาสอย่างนี้ ก่อนอื่นพึงให้กุลบุตรที่เคย
เป็นอัญเดียรถีย์ปลงผมและหนวด ให้ครองผ้ากาสายะ ให้ห่มผ้าเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง
ให้กราบเท้าภิกษุทั้งหลาย ให้นั่งกระโหย่ง ให้ประนมมือแล้วสั่งว่า “เธอจงกล่าวอย่างนี้”
แล้วให้ว่าสรณคมน์ดังนี้

ไตรสรณคมน์
ว่าด้วยการถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะ
ข้าพเจ้า ขอถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ
ข้าพเจ้า ขอถึงพระธรรมเป็นสรณะ
ข้าพเจ้า ขอถึงพระสงฆ์เป็นสรณะ
ข้าพเจ้า ขอถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ แม้ครั้งที่ 2
ข้าพเจ้า ขอถึงพระธรรมเป็นสรณะ แม้ครั้งที่ 2
ข้าพเจ้า ขอถึงพระสงฆ์เป็นสรณะ แม้ครั้งที่ 2
ข้าพเจ้า ขอถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ แม้ครั้งที่ 3
ข้าพเจ้า ขอถึงพระธรรมเป็นสรณะ แม้ครั้งที่ 3
ข้าพเจ้า ขอถึงพระสงฆ์เป็นสรณะ แม้ครั้งที่ 3
ภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรที่เคยเป็นอัญเดียรถีย์นั้น พึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าเฉวียง
บ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุทั้งหลาย นั่งกระโหย่ง ประนมมือ กล่าวคำขอติตถิย
ปริวาสอย่างนี้ว่า

คำขอติตถิยปริวาสและกรรมวาจาให้ติตถิยปริวาส
ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้ามีชื่อนี้เคยเป็นอัญเดียรถีย์ หวังอุปสมบทในพระธรรม
วินัยนี้ ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้านั้นขอปริวาส 4 เดือนต่อสงฆ์
พึงขอแม้ครั้งที่ 2 ฯลฯ
พึงขอแม้ครั้งที่ 3 ฯลฯ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 4 หน้า :138 }